“ ราชวงศ์ชัยปุระ เตรียมนำพระราชวังเข้าสู่ระบบที่พักของ Airbnb ภายในสิ้นเดือนนี้ “

      จากที่ทางซีเอ็นเอ็นได้มีการรยงานว่าราชวงศ์ชัยปุระของประเทศอินเดียจะมีการตัดสินใจ โดยการนำพระราชวังชัยปุระ หรือ City Palace เมืองสีชมพู ที่มีอายุสามร้อยกว่าปี ที่มีชื่อเสียงเป็นแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอินเดีย เข้าสู่ระบบแอพพลิเคชั่นของที่พักใน Airbnb เป็นครั้งแรก 

โดยมีราคาค่าเข้าพักต่อคืนอยู่ที่ 7,983 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเป็นเงินไทยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 250,000 แสนบาท 

       พระราชวังชัยปุระ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1727 เป็นคำสั่งสร้างของมหาราชาไสวใจซิงห์ที่ 2 ผู้ซึ่งก่อตั้งเมืองชัยปุระขึ้น และก็มีเหล่าบรรดาราชวงศ์ทายาทต่ๆมากมายอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบันนี้ โดยปกติแล้งพระราชวังชัยปุระจะอนุญาตให้เข้าแค่ราชวงศ์และเหล่าบรรดาแขกพิเศษของพวกราชวงศ์เท่านั้น

ส่วนการเปิดให้จองห้องพักนี้จะเริ่มเปิดให้จองวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 นี้ และรายได้ที่ได้จากการจองห้องพักทั้งหมดก็จะถูกนำไปบริจาคที่มูลนิธิเจ้าหญิงดิยากุมารี (the Princess Diya Kumari Foundation) ที่เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างชุมชนด้อยโอกาสในรัฐราชสถาน ของประเทศอินเดียวอีกด้วย และการเข้าพักที่นี่ก็มีความพิเศษตั้งแต่ด้านการบริการตั้งแต่เริ่มจากสนามบิน พอแขกที่จะเข้ามาพักที่พระราชวังมาถุงสนามบิน ก็จะมีรถยนต์ส่วนตัวพร้อมคนขับไปรับที่สนามบินจนมาถึงที่พัก และยังมีพ่อบ้านส่วนตัวคอยดูแลแนะนำให้บริการตลอดในพระราชวัง

มีสิ่งอำนวนยความสะดวกต่างๆมากมายและยังมีความพิเศษไปจนถึงอาหารที่เสิร์ฟจะเป็นอาหารแบบดั้งเดิมของรัฐราชสถาน

อีกทั้งยังได้ชมสวนนกยูงตรงริมระเบียง และการรับประทานมื้อเช้าและมื้อเย็นจะเสิร์ฟในร้าน Baradari ที่ตั้งอยู่ในพระราชวัง และแขกที่จองที่พักที่นี่โดยผ่าน Airbnb จะได้สิทธิพิเศษซึ่งมีการบริการทัวร์พร้อมทั้งพูดบรรยายเกี่ยวกับการตกแต่งสถาปัตยกรรมของพระราชวังชัยปุระ อีกทั้งยังสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการช้อปปิ้งและเที่ยวชมรอบเมืองอีกด้วย

นักรบรับจ้าง 

      แม้สงครามเย็นระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตยที่นำมาซึ่งการสู้รบอย่างยาวนานทั้งในสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนามจะสิ้นสุดลงไปเกือบ 40 ปีแล้วก็ตาม แต่โลกปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์สงครามปะทุขึ้นในหลายภูมิภาคทั้งตะวันออกกลางและในยุโรปซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเรียกร้องเอกราชและความต้องการที่จะปกครองตนเองจนเป็นปฏิปักษ์ และสิ่งที่มาคู่กับสงครามก็คือธุรกิจ ทหารรับจ้าง

ซึ่งผู้เกี่ยวข้องพยายามใช้ชื่ออย่างสวยรู้ว่า คอนแทร็คเตอร์

หรือพนักงานสัญญาจ้าง ทั้งที่ในความจริงแล้วคนเหล่านี้ก็คือ นักรบ ที่รับจ้างคุ้มกันหรืองานทางทหารในพื้นที่อันตราย เป็นที่ยอมรับกันว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างคุ้มกันต้องใช้ทักษะทางทหารที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในโลกก็คือ แบล็กวอร์เตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน งานของบริษัทนี้ดำเนินการอยู่ในหลายประเทศซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแดนมิคสัญญีทั้งสิ้นโดยล่าสุดแบล็ควอเตอร์ได้เข้าไปรับงานในยูเครนแต่ใช้ชื่อของบริษัทลูกที่เป็นเครือข่ายเดียวกัน

ทหารรับจ้างคือกำลังรบขนาดเล็กที่มีผลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและสงครามกลางเมือง 

       5 ทุ่มคืนวันที่ 2 มีนาคม 2014 เหนือน่านฟ้าเมืองเคียฟนครหลวงของประเทศยูเครนซึ่งเคยเป็นหนึ่งในดินแดนของสภาพโซเวียต เครื่องบินแบบบอมบาเดีย แดช 8 ติดเครื่องหมายเลขของบริษัทอีพี ที่แพนหางดิ่งซึ่งเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำมาจากอังกฤษค่อยๆลดระดับเพดานบินลงอย่างต่อเนื่องได้ร่อนลงสู่ท่าอากาศยานบาลิสโปล

พร้อมด้วยทีมปฏิบัติการซึ่งเป็นอดีตนักรบพิเศษที่เป็นชายฉกรรจ์จำนวน 70 คนล้วนแต่เป็นคอนแทร็คเตอร์ เป็นพนักงานสัญญาจ้างในสังกัดของบริษัทเกรย์สโตน ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทแบล็ควอเตอร์ผู้อื้อฉาวแห่งวงการจากเหตุการณ์สังหารหมู่พลเรือนอิรัก 14 ราย กลางกูแบกแดดในปี 2007 โดยชายฉกรรจ์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นอดีตสมาชิกหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือหรือยูเอสเนวี่ซีล ของกองทัพสหรัฐอเมริกา

ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเก่งกาจสุดยอดในบรรดานักรบพิเศษมีเพียงไม่กี่คนที่เป็นอดีตกำลังพลของหน่วยเดลต้าฟอร์ซของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา

ขณะที่หัวหน้าทีมในครั้งนี้คือ ริชาร์ด เบนนี่ เป็นอดีตกำลังพลของหน่วยซีลที่ผันตัวมาทำงานรับให้กับสำนักข่าวกรองหรือ ซีไอเอของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยในครั้งนี้เขาได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ประสานงานการจัดตั้งกองกำลังพิเศษให้กับรัฐบาลยูเครนเพื่อไว้รับมือกับสถานการณ์ที่รุนแรงและปะทุขึ้นอย่างห้ามไม่อยู่ 

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองเพื่อการเข้าสังคมในยุคนี้

“อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อบ”

ประโยคนี้คืออะไร มันก็คงไม่ต่างจากสำนวนที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” สักเท่าไหร่เพราะมนุษย์อย่างเรานั้นเป็นสัตว์สังคม อยู่บนโลกคนเดียวไม่ได้ยังต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่เพื่อให้เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่พฤติกรรมการในใช้ชีวิตของเราจะถูกกำหนดจากสังคมที่อยู่แล้วสังคมที่ว่านี้มันเป็นอย่างไรกันล่ะ? หากมองในมุมหนึ่งก็ต้องบอกว่าสังคมตอนนี้ดำเนินไปด้วยวัตถุนิยมทั้งสิ้น ของใช้ต่างๆในชีวิตประจำวันต้องมีแบรนด์ เป็นที่รู้จักราคาแพง หรือแม้กระทั่งอาหารการกินเองก็ตามล้วนจะต้องเป็นไปในทิศทางนั้น

แล้วสิ่งที่กำหนดให้ต้องเป็นแบบนี้คืออะไร

ปัจจัยหนึ่งก็คือโซเชียลมีเดียต่างๆที่เปรียบเสมือนตัวกลางในการนำกระแสไปสู่ตัวบุคคลเมื่อเราได้รับรู้ข้อมูลก็ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่ากิเลสขึ้น กล่าวก็คือความอยากได้ อยากมีกิเลสเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับด้วยการได้มาซึ่งสิ่งของนั้น แล้วถ้าไม่ได้มาจะเป็นอะไรไหม คำตอบก็คือไม่เป็นไรเลย
เพราะถ้าสิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ก็ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องได้มาแต่ในทางกลับกัน ถ้าเรามองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่มีราคาแพงมองถึงคุณค่าของมันว่าเมื่อมีราคาแพงย่อมมีคุณภาพ

การได้มาซึ่งสิ่งของนั้นย่อมเกิดประโยชน์กับตัวเราได้อย่างแน่นอนสิ่งที่กำลังจะสื่อก็คือการที่เราอยากใช้ของแพง ไม่ใช่เพียงเพราะอยากตามกระแส หรือตามใครเท่านั้นแต่มันเป็นการเลือกของที่มีคุณภาพ สิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองมนุษย์ทุกคนเต็มเปี่ยมไปด้วยความทะเยอทะยานด้วยกันทั้งนั้น

และความทะเยอทะยานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้มนุษย์เราเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตผลจากสิ่งนี้เองทำให้มนุษย์รู้จักที่จะผลิตเทคโนโลยี นวัตกรรมหรือแม้กระทั่งแนวคิดใหม่ๆขึ้นมาใช้ในการตอบโจทย์การดำเนินชีวิตประจำวันของตนเองกล่าวก็คือไม่ใช่เรื่องผิดอะไรกับ

การที่เราจะอยากได้อยากมีสิ่งดีๆเหมือนคนอื่นๆ

การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันกับเรื่องแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติมากๆแต่อยู่ที่ว่าตัวเราเองนั้นมีการจัดการบริหารกับความต้องการของตัวเองอย่างไรมีการจัดลำลับความสำคัญของความต้องการนั้นหรือไม่ สามารถควบคุมตัวเองได้มากแค่ไหนอย่างไรก็ตามสังคมไม่ได้เป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งทิศทางชีวิตของเราหากแต่เป็นตัวเราเองที่ต้องควบคุมและกำหนดทิศทางการดำเนินชีวิตให้เป็นไปในแบบที่ต้องการ

รวมไปถึงสังคมหากจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ก็ต้องมาจากกลุ่มคนอย่างพวกเราๆที่คอยขับเคลื่อนสังคมให้เป็นไป
ในทิศทางที่เหมาะสม และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินชีวิตต่อไป